D 2.1                 :   ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร

ชนิดของตัวบ่งชี้    :   กระบวนการ (P)

การคิดรอบปี        :   ปีการศึกษา     

คำอธิบาย            :   ประเมินเฉพาะภาควิชาที่เป็นเจ้าของหลักสูตร

            หน่วยงานมีหน้าที่พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับปรัชญาปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจและความพร้อมของหน่วยงาน ตลอดจนสอดคล้องกับความต้องการทางด้านวิชาการและวิชาชีพของสังคม มีการประเมินหลักสูตรอย่างสมํ่าเสมอตามหลักเกณฑ์และตัวบ่งชี้ของการประกันคุณภาพหลักสูตร มีการวางระบบและกลไกบริหารหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพและมีการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง 

เกณฑ์มาตรฐาน:   เชิงคุณภาพ คิดเป็นข้อ

  1. มีระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรใหม่และปรับปรุงหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา และคณะกรรมการที่รับผิดชอบของหน่วยงาน (ถ้ามี) และดำเนินการตามระบบที่กำหนด
  2. มีระบบและกลไกการปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการที่รับผิดชอบของหน่วยงานและดำเนินการตามระบบที่กำหนด
  3. ทุกหลักสูตรมีการดำเนินงานให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาและกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ1(การดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หมายถึง ต้องมีการประเมินผลตาม “ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามประกาศมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชา เพื่อการประกันคุณภาพหลักสูตรและการเรียนการสอน” กรณีที่หลักสูตรใดยังไม่มีประกาศมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชา ให้ประเมินตาม   ตัวบ่งชี้กลางที่กำหนดในภาคผนวก ก) สำหรับหลักสูตรสาขาวิชาชีพต้องได้รับการรับรองหลักสูตรจากสภาหรือองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องด้วย

(หมายเหตุ:1สำหรับหลักสูตรเก่าหรือหลักสูตรปรับปรุงที่ยังไม่ได้ดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติก่อนปีการศึกษา12556 1ให้ยึดตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548 )

  1. มีคณะกรรมการรับผิดชอบ ควบคุม กำกับให้มีการดำเนินการได้ครบถ้วนทั้งข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ข้างต้นตลอดเวลาที่จัดการศึกษา และมีการประเมินหลักสูตรทุกหลักสูตรอย่างน้อยตามกรอบเวลาที่กำหนดในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรฯ 1กรณีหลักสูตรที่ดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติจะต้องควบคุมกำกับให้การดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ในข้อ 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน 5 ข้อแรกและอย่างน้อยร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ที่กำหนดในแต่ละปี ทุกหลักสูตร
  2. มีคณะกรรมการรับผิดชอบควบคุมกำกับให้มีการดำเนินการได้ครบถ้วนทั้งข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ข้างต้นตลอดเวลาที่จัดการศึกษา และมีการพัฒนาหลักสูตรตามผลการประเมินในข้อ 4 กรณีหลักสูตรที่ดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติจะต้องควบคุมกำกับให้การดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ในข้อ 3 ผ่านเกณฑ์การประเมินครบทุกตัวบ่งชี้และทุกหลักสูตร
  3. มีความร่วมมือในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรระหว่างหน่วยงานกับภาครัฐหรือภาคเอกชน

ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพของหลักสูตร มากกว่าร้อยละ 30 ของจำนวนหลักสูตรวิชาชีพทั้งหมด

ทุกระดับการศึกษา

 

หมายเหตุ

1.  หลักสูตรวิชาชีพ หมายถึง รายวิชาและประสบการณ์ทั้งหมดที่ผู้เรียนต้องศึกษาเพื่อให้ได้รับการรับรองจากสภาหรือองค์กรวิชาชีพที่กำหนดตามกฎหมาย

2.  กรณีไม่มีหลักสูตรวิชาชีพในความรับผิดชอบของภาควิชา ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานข้อ 5 โดยอนุโลม

3.  ความร่วมมือในการพัฒนาและบริหารหลักสูตร เช่น การจัดให้มีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบันจากองค์กรที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพของหลักสูตร ร่วมเป็นที่ปรึกษา หรือคณะกรรมการร่างหลักสูตร คณะกรรมการบริหารภาควิชา คณะกรรมการบริหารหรือพัฒนาหลักสูตร หรือร่วมเป็นคณะกรรมการอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้ความสามารถและทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานจริงที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและบริหารหลักสูตร ตลอดจนกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้นิสิตสามารถออกไปปฏิบัติงานได้จริงเมื่อสำเร็จการศึกษา

4.  กรณีหลักสูตรร่วมหรือมีมากกว่า111ภาควิชาที่ดำเนินการบริหารจัดการหลักสูตรร่วมกัน ให้ใช้ผลประเมินร่วมกัน

 

เกณฑ์การประเมิน :

คะแนน 1

คะแนน 2

คะแนน 3

คะแนน 4

คะแนน 5

มีดำเนินการ 1 ข้อ

มีดำเนินการ 2 ข้อ

มีดำเนินการ 3 ข้อ

มีดำเนินการ 4-5 ข้อ

มีดำเนินการ 6 ข้อ