D 2.6 : ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน
ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ (P)
ปรับเปลี่ยนจากตัวชี้วัด สกอ. ที่ 2.6 ให้เหมาะสมกับการดำเนินงานในระดับภาควิชาโดยแบ่งเกณฑ์เป็นภาควิชาที่มีหลักสูตรและภาควิชาที่ไม่มีหลักสูตร
การคิดรอบปี : ปีการศึกษา
คำอธิบาย :
กระบวนการจัดการเรียนการสอนต้องเป็นไปตามแนวทางที่กำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการจัดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมและยืดหยุ่น โดยการมีส่วนร่วมจากบุคคล สถาบัน หรือชุมชนภายนอก มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างเฉพาะตัวของนิสิต ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากต่อความสนใจใฝ่รู้และต่อศักยภาพในการแสวงหาความรู้ของนิสิต เช่น การเปิดโอกาสให้นิสิตได้ค้นคว้าวิจัยโดยอิสระในรูปโครงการวิจัยส่วนบุคคล การจัดให้มีชั่วโมงเรียนในภาคปฏิบัติ ในห้องปฏิบัติการ รวมทั้งมีการฝึกประสบการณ์ภาคสนามอย่างพอเพียง มีการจัดสัมมนา จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดทำโครงการมีการเรียนการสอนทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (internet) ที่เพียงพอสำหรับการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง
เกณฑ์มาตรฐานสำหรับภาควิชาที่ไม่มีหลักสูตรของภาค: เชิงคุณภาพ คิดเป็นข้อ |
- มีการจัดประชุม/สัมมนา ในระดับภาควิชา เพื่อพิจารณาแผนการสอนรายวิชา อย่างน้อยในด้านความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ และวิธีการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และเกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนที่เหมาะสมในแต่ละรายวิชา
- มีรายละเอียดของรายวิชาและของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ทุกรายวิชา (มคอ. 3 และ มคอ.4) ก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษา ตามที่กำหนดในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
- มีผลการประเมินความพึงพอใจของนิสิตต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทุกรายวิชา ทุกภาคการศึกษา ไม่น้อยกว่า 3.51จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน
- มีการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาจากการวิจัยในชั้นเรียน (Classroom research) ที่จัดทำโดยอาจารย์ในภาควิชา/คณะ หรือจากกระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
- มีการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียนหรือจากการทำวิจัย
- มีการพัฒนาหรือปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้ ตามผลการประเมินรายวิชา (ระบบ CU-CAS) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
|
เกณฑ์สำหรับภาควิชาที่มีหลักสูตรของภาค: เชิงคุณภาพ คิดเป็นข้อ |
- มีการจัดประชุม/สัมมนา ในระดับภาควิชา เพื่อพิจารณาแผนการสอนรายวิชา อย่างน้อยในด้านความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ และวิธีการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และเกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนที่เหมาะสมในแต่ละรายวิชา
- มีรายละเอียดของรายวิชาและของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ทุกรายวิชา (มคอ. 3 และ มคอ.4) ก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษา ตามที่กำหนดในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (และในทุกหลักสูตรของภาควิชาที่มีหลักสูตร)
- มีผลการประเมินความพึงพอใจของนิสิตต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทุกรายวิชา ทุกภาคการศึกษา ไม่น้อยกว่า 3.51จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน (และในทุกหลักสูตรของภาควิชาที่มีหลักสูตร)
- มีการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาจากการวิจัยในชั้นเรียน (Classroom research) ที่จัดทำโดยอาจารย์ในภาควิชา/คณะ หรือจากกระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
- ทุกหลักสูตรมีรายวิชาที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติทั้งใน และนอกห้องเรียนหรือจากการทำวิจัย
- มีการให้ผู้มีประสบการณ์ทางวิชาการหรือวิชาชีพจากหน่วยงานหรือชุมชนภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอน(และในทุกหลักสูตรของภาควิชาที่มีหลักสูตร)
- มีรายวิชาหรือกิจกรรมสัมมนาทุกภาคการศึกษา เพื่อส่งเสริมให้นิสิตได้ค้นคว้า/นำเสนอ/เข้าร่วมฟังการนำเสนอผลงานวิจัยที่น่าสนใจ(เฉพาะบัณฑิตศึกษา)
- มีการพัฒนาหรือปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้ ตามผลการประเมินรายวิชา (ระบบ CU-CAS,มคอ.5 และ มคอ. 6) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
|
เกณฑ์การประเมินสำหรับภาควิชาที่ไม่มีหลักสูตรของภาค : |
คะแนน 1 |
คะแนน 2 |
คะแนน 3 |
คะแนน 4 |
คะแนน 5 |
มีการดำเนินการ
1 ข้อ |
มีการดำเนินการ
2 ข้อ |
มีการดำเนินการ
3 หรือ 4 ข้อ |
มีการดำเนินการ
5 ข้อ |
มีการดำเนินการ
6 ข้อ |
เกณฑ์การประเมินสำหรับภาควิชาที่มีหลักสูตรของภาค : |
คะแนน 1 |
คะแนน 2 |
คะแนน 3 |
คะแนน 4 |
คะแนน 5 |
มีการดำเนินการ
1 ข้อ |
มีการดำเนินการ
2 ข้อ |
มีการดำเนินการ
3 หรือ 4 ข้อ |
มีการดำเนินการ
5 หรือ 6 ข้อ |
มีการดำเนินการ
7 หรือ 8 ข้อ |
หมายเหตุ
1. กระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนคือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการวิจัยและประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนระหว่างอาจารย์ เพื่อการปรับปรุงและการพัฒนาการเรียนการสอน
2. การประเมินความพึงพอใจของนิสิตต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ต้องประเมินทุกรายวิชา ทุกภาคการศึกษา ยกเว้นรายวิชาที่ไม่มีการเรียนการสอนในชั้นเรียนหรือในห้องปฏิบัติการ เช่น การฝึกงาน สหกิจศึกษา การค้นคว้าอิสระ วิชาโครงงาน สารนิพนธ์ และปริญญานิพนธ์ เป็นต้น