D 4.1                 :   การสนับสนุนการผลิตงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ จากหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา

ชนิดของตัวบ่งชี้    :   กระบวนการ (P)

การคิดรอบปี        :   ปีการศึกษา

คำอธิบาย            :  

              ปรับเปลี่ยนจากตัวชี้วัด สกอ. 4.1 (สำหรับสถาบันและคณะ) เพื่อให้เหมาะสมกับพันธกิจของภาควิชาและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สำคัญคือการสนับสนุนการผลิตบัณฑิตในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อเป็นฐานสำคัญของการเกิดผลงานวิจัยทั้งจากตัวนิสิต และอาจารย์ในหลักสูตร ดังจะเห็นได้จากการกำหนดให้มีการรายงานผลงานวิจัยของอาจารย์ประจำหลักสูตรบัณฑิตศึกษาเป็นประจำทุกปีตามตัวชี้วัดมาตรฐานหลักสูตรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ( CU CQA 2.2 และ CU CQA 2.3)

 

              คณาจารย์และนักวิจัยในภาควิชาโดยเฉพาะอาจารย์ประจำหลักสูตร มีพันธกิจหลักในการผลิตองค์ความรู้ใหม่ ผ่านกระบวนการวิจัยหรือกระบวนการผลิตผลงานสร้างสรรค์ และเผยแพร่ผลงานที่ผลิตขึ้น เพื่อการใช้ประโยชน์ของสังคม รวมทั้งเพื่อการใช้ประโยชน์ในการสอนนิสิต และ/หรือการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินภารกิจต่างๆ ของภาควิชา คณะ และสถาบัน

             

              งานวิจัย1หมายถึง1ผลงานทางวิชาการที่ได้มีการศึกษาค้นคว้าตามกระบวนการระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมกับสาขาวิชา เพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่หรือเป็นการต่อยอดองค์ความรู้เดิม ทั้งนี้ รวมถึงการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนหรือการวิจัยในชั้นเรียน (classroom research) และการวิจัยสถาบัน

              งานสร้างสรรค์  หมายถึง  ผลงานวิชาการ  (ไม่จำเป็นต้องเป็นงานวิจัย)  ที่มีความเป็นนวัตกรรม โดยมีการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีแนวทางการทดลองหรือการพัฒนาจากแนวคิดสร้างสรรค์เดิม 

              

เกณฑ์มาตรฐาน:   เชิงคุณภาพ คิดเป็นข้อ

  1. มีการกำหนดนโยบาย ทิศทางการวิจัยของภาควิชา/หลักสูตรของภาควิชา และจัดทำแผนการวิจัย  เพื่อนำไปสู่การสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ การสนับสนุนการดำเนินงานวิจัยที่ชัดเจนของภาควิชาให้อาจารย์ประจำหลักสูตรและนิสิตของภาควิชาในการพัฒนางานวิจัย (แผนยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัตงานด้านงานวิจัย)
  2. ทุกหลักสูตรบัณฑิตศึกษาของภาควิชามีจำนวนอาจารย์และคุณวุฒิอาจารย์เป็นตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2548 และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
  3. อาจารย์ประจำหลักสูตรบัณฑิตศึกษา(เฉพาะปฏิบัติงานจริง) ของภาควิชาทุกคนที่มีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
  4. ทุกหลักสูตรบัณฑิตศึกษาของภาควิชามีอาจารย์มีภาระงานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และค้นคว้าอิสระเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร
  5. ทุกหลักสูตรบัณฑิตศึกษาของภาควิชามีนิสิตจบทันตามกำหนดเวลาและมีผลงานตีพิมพ์ในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ
  6. อาจาร์ยประจำหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทุกคนมีผลงานตีพิมพ์หรืองานสร้างสรรค์/จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในระดับชาติ (CU CQA index 2.2) หรือนานาชาติ
  7. อาจาร์ยประจำหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทุกคนมีผลงานตีพิมพ์หรืองานสร้างสรรค์/จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในระดับนานาชาติ (CU CQA index 2.3)

เกณฑ์การประเมิน :

คะแนน 1

คะแนน 2

คะแนน 3

คะแนน 4

คะแนน 5

มีการดำเนินการ

1 ข้อ

มีการดำเนินการ

2 หรือ 3 ข้อ

มีการดำเนินการ

4 หรือ 5 ข้อ

มีการดำเนินการ

6 ข้อ

มีการดำเนินการ

7 ข้อ