D 4.2 : เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์และนักวิจัยประจำ
ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ (P)
การคิดรอบปี : ปีงบประมาณ (จำนวนเงินวิจัย) และปีการศึกษา (จำนวนอาจารย์/นักวิจัย)
คำอธิบาย :
ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการผลิตงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในสถาบันอุดมศึกษา คือ เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ซึ่งมาจากการจัดสรรเงินจากภายในสถาบัน และการสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอกสถาบัน ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญ ซึ่งแสดงถึงศักยภาพด้านการวิจัยของสถาบัน คณะ และภาควิชา โดยเฉพาะในสถาบันที่อยู่ในกลุ่มที่เน้นการวิจัย
ให้เปรียบเทียบจำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่สถาบันอุดมศึกษาได้รับในปีงบประมาณนั้น จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำที่อยู่ปฏิบัติงานจริงในปีการศึกษานั้น โดยให้นำเสนอในรูปสัดส่วน (บาทต่อคน)
เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หมายถึง จำนวนเงินที่อาจารย์และนักวิจัยประจำได้รับการสนับสนุนจากภายในและภายนอกสถาบัน สำหรับงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในสถาบัน หมายถึง เงินอุดหนุนการวิจัยที่สถาบันจัดสรรเพื่อการสนับสนุนการทำวิจัยและงานสร้างสรรค์ ซึ่งจะนับได้ต่อเมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว หรือทำสัญญารับทุนแล้ว ได้แก่ เงินอุดหนุนจากคณะ หรือ มหาวิทยาลัย และเงินงบประมาณแผ่นดิน
จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายนอกสถาบัน หมายถึง เงินอุดหนุนการวิจัยที่ได้รับจัดสรรจากหน่วยงานภายนอก ทั้งในประเทศ เช่น สวทช. สสส. สวรส. สกว. สกอ. วช.ฯลฯ และแหล่งทุนต่างประเทศ
แปลงเป็นคะแนนเต็ม 5
เกณฑ์การประเมิน : |
เกณฑ์การประเมินเฉพาะสถาบันกลุ่ม ค1 จำแนกเป็น 3 กลุ่มสาขาวิชา 1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = 180,000 บาทขึ้นไปต่อคน 2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = 150,000 บาทขึ้นไปต่อคน 3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = 75,000 บาทขึ้นไปต่อคน |
หมายเหตุ :