D 4.5                 :   งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่

                                    

ชนิดของตัวบ่งชี้    :   ผลผลิต (O)

                            ตัวชี้วัด สมศ. 5

การคิดรอบปี        :   ปีปฏิทิน (ตัวตั้ง) และปีการศึกษา (ตัวหาร)

คำอธิบาย            :  

              การวิจัยเป็นพันธกิจหนึ่งที่สำคัญของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา การดำเนินการตามพันธกิจอย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จนั้น สามารถพิจารณาได้จากผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพและมีการเผยแพร่อย่างกว้างขวางจากการเปรียบเทียบจำนวนบทความวิจัยที่ตีพิมพ์และจำนวนผลงานสร้างสรรค์ที่เผยแพร่ในระดับชาติหรือระดับนานาชาติกับจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ

          งานวิจัย หมายถึง ผลงานทางวิชาการที่ได้มีการศึกษาค้นคว้าตามกระบวนการระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมกับสาขาวิชา เพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่หรือเป็นการต่อยอดองค์ความรู้เดิม

          งานวิจัยที่เผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ หมายถึง การนำเสนอบทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการและบทความฉบับสมบูรณ์ (full paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ระดับชาติ ที่มีกองบรรณาธิการจัดทำรายงาน หรือคณะกรรมการจัดประชุมประกอบด้วยศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ นอกสถาบันเจ้าภาพอย่างน้อยร้อยละ 25

งานวิจัยที่เผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ หมายถึง การนำเสนอบทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการและบทความฉบับสมบูรณ์  (full paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ระดับนานาชาติ ที่มีกองบรรณาธิการจัดทำรายงาน หรือคณะกรรมการจัดประชุมประกอบด้วยศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ จากต่างประเทศอย่างน้อยร้อยละ 25

การส่งบทความเพื่อพิจารณาคัดเลือกให้นำเสนอในการประชุมวิชาการต้องส่งเป็นฉบับสมบูรณ์       (full paper) และเมื่อได้รับ การตอบรับและตีพิมพ์แล้ว การตีพิมพ์ต้องตีพิมพ์เป็นฉบับสมบูรณ์ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบเอกสาร หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้

          งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ หมายถึง บทความจากผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ (Journal) ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล Thai-Journal Citation Index Centre (TCI) หรือวารสารวิชาการระดับชาติตามประกาศของ สมศ.

งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ หมายถึง บทความจากผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ (Journal) ที่ปรากฏในฐานข้อมูลสากล ได้แก่ ฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร SJR (SCImago Journal Rank: www.scimagojr.com) หรือฐานข้อมูล ISI Web of Science (Science Citation Index Expand, Social Sciences Citation Index, Art and Humanities Citation Index) หรือฐานข้อมูล Scopus หรือวารสารวิชาการระดับนานาชาติตามประกาศของ สมศ.

งานสร้างสรรค์ หมายถึง ผลงานศิลปะและสิ่งประดิษฐ์ประเภทต่างๆที่มีความเป็นนวัตกรรม โดยมีการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบที่เหมาะสมตามประเภทของงานศิลปะ แนวทางการทดลอง หรือการพัฒนาจากแนวคิดการสร้างสรรค์เดิม เพื่อเป็นต้นแบบหรือความสามารถในการบุกเบิกศาสตร์อันก่อให้เกิดคุณค่าทางสุนทรีย์และคุณประโยชน์ที่เป็นที่ยอมรับในวงวิชาชีพ  ตามการจัดกลุ่มศิลปะของอาเซียน ได้แก่ ทัศนศิลป์ (Visual Art) ศิลปะการแสดง (Performing Arts) และวรรณศิลป์ (Literature)

      การเผยแพร่งานสร้างสรรค์ หมายถึง การเผยแพร่งานสร้างสรรค์ในลักษณะสิ่งตีพิมพ์ การจัดนิทรรศการ การจัดการแสดง หรือการจัดประกวด ซึ่งเป็นการนำเสนอผลงานศิลปะแขนงต่างๆ ที่เป็นผลงานวิชาการสู่สาธารณะ โดยมีกระบวนการพิจารณาคัดเลือกคุณภาพผลงาน ก่อนการเผยแพร่ โดยศิลปินแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิ และ/หรือนักวิชาการที่เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการนั้นๆ

 

วิธีการนับ

     การนับจำนวนบทความจากผลงานวิจัยหรือผลงานสร้างสรรค์ของอาจารย์ที่ตีพิมพ์หรือเผยแพร่ บทความจากผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ที่สามารถนำมานับได้มีเฉพาะ Article หรือ Conference Paper หรือ Review เท่านั้น ส่วนบทความจากผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการนั้นสามารถนำมานับได้เฉพาะที่เป็นบทความฉบับสมบูรณ์ (full paper) เท่านั้น

          การนับบทความจากผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์หรือผลงานสร้างสรรค์ที่เผยแพร่ให้นับตามระบบที่กำหนดโดยมหาวิทยาลัย คือนับการเผยแพร่เป็นปีปฏิทิน ในกรณีที่บทความจากผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์หรือผลงานสร้างสรรค์ที่เผยแพร่เป็นผลงานเดิมแต่นำไปตีพิมพ์หรือเผยแพร่มากกว่า 1 ครั้ง ให้นับได้เพียง 1 ผลงาน ทั้งนี้จะนับเมื่อบทความจากผลงานวิจัยหรือผลงานสร้างสรรค์ได้ตีพิมพ์หรือเผยแพร่ไปแล้ว



เกณฑ์มาตรฐาน  :

 

กำหนดระดับคุณภาพงานวิจัยที่ตีพิมพ์ ดังนี้

ค่าน้ำหนัก

ระดับคุณภาพงานวิจัย

0.25

มีการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ/ระดับนานาชาติหรือมี     การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฎในฐานข้อมูล TCI

0.50

มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติที่มีชื่อปรากฏอยู่ในประกาศของ สมศ.

0.75

มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร SJR (SCImago Journal Rank: www.scimagojr.com) โดยวารสารนั้นถูกจัดอยู่ในควอไทล์ที่ 3 หรือ 4 (Q3 หรือ Q4) ในปีล่าสุด ใน subject category ที่ตีพิมพ์ หรือมีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีชื่อปรากฏอยู่ในประกาศของ สมศ.

1.00

มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร SJR (SCImago Journal Rank: www.scimagojr.com) โดยวารสารนั้นถูกจัดอยู่ในควอไทล์ที่ 1 หรือ 2 (Q1 หรือ Q2) ในปีล่าสุด ใน subject category ที่ตีพิมพ์ หรือมีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลสากล ISI หรือ Scopus

 

หมายเหตุ: การค้นข้อมูลวารสารระดับนานาชาติเพื่อหาค่าน้ำหนัก ให้เริ่มสืบค้นจากฐานข้อมูล ISI หรือ Scopus ก่อน SJR

 

กำหนดระดับคุณภาพงานสร้างสรรค์ที่เผยแพร่ ดังนี้

ค่าน้ำหนัก

ระดับคุณภาพงานสร้างสรรค์ *

0.125

งานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับสถาบันหรือจังหวัด

0.25

งานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับชาติ

0.50

งานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ

0.75

งานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับภูมิภาคอาเซียน

1.00

งานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับนานาชาติ

* องค์ประกอบของคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน และต้องมีบุคคลภายนอกสถานศึกษาร่วมพิจารณาด้วย

         

อาเซียน หมายถึง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) มี 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม

การเผยแพร่ในระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ เป็นโครงการร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่น

การเผยแพร่ในระดับภูมิภาคอาเซียน เป็นการเผยแพร่เฉพาะในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ (อย่างน้อย 5 ประเทศ หมายถึงนับรวมประเทศไทยด้วย) และไม่จำเป็นต้องไปแสดงในต่างประเทศ

การเผยแพร่ในระดับนานาชาติ เป็นการเผยแพร่ที่เปิดกว้างสำหรับทุกประเทศ (อย่างน้อย 5 ประเทศที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มอาเซียน)

 

สูตรการคำนวณ

    

เกณฑ์การประเมิน  :

          ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ โดยกำหนดร้อยละเท่ากับ 5 คะแนน จำแนกตามกลุ่มสาขาวิชา ดังนี้

กลุ่มสาขาวิชา

ร้อยละ

วิทยาศาสตร์สุขภาพ

20

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

20

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

10

       

รายการหลักฐานประกอบการประเมิน

  1. กรณีการเผยแพร่งานวิจัย
    1. การตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ ให้แสดง (1) บทความจากรายงานสืบเนื่องฯ และ (2) เอกสารจากการประชุมที่แสดงรายชื่อและจำนวนของกองบรรณาธิการจัดทำรายงาน หรือคณะกรรมการจัดประชุม
    2. การตีพิมพ์ในวารสาร ให้แสดง (1) บทความจากวารสารหรือ reprint (2) หลักฐานประกอบการคิดค่าน้ำหนัก เช่น หน้าที่พิมพ์จาก scopus หรือ TCI ที่แสดงชื่อวารสารนั้นๆ
  2. กรณีการเผยแพร่งานสร้างสรรค์

     ให้แสดง (1) ภาพถ่ายหรือหลักฐานแสดงให้เห็นชิ้นงาน (2) เอกสารที่แสดงการศึกษาค้นคว้าและสร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นอย่างเป็นระบบ (3) เอกสารการประเมินชิ้นงานโดยคณะกรรมการกลั่นกรองงานสร้างสรรค์และ (4) เอกสารโครงการที่นำชิ้นงานไปแสดง ประกวด หรือเผยแพร่ ที่ระบุให้เห็นได้ว่าเป็นแหล่งเผยแพร่ในระดับใด เช่น มีการแสดงรายชื่อประเทศที่ร่วมจัดหรือเผยแพร่ผลงาน เป็นต้น