D 4.6                 :     งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์

ชนิดของตัวบ่งชี้    :      ผลลัพธ์ (O)

                               ตัวชี้วัด สมศ. 6

การคิดรอบปี        :      ปีปฏิทิน (ตัวตั้ง) และปีการศึกษา (ตัวหาร)

คำอธิบาย            :    

          การวิจัยเป็นพันธกิจหนึ่งที่สำคัญของสถาบันอุดมศึกษา การดำเนินการตามพันธกิจอย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จนั้น สามารถพิจารณาได้จากผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพและมีประโยชน์สู่การนำไปใช้ ด้วยการเปรียบเทียบจำนวนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ของอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำที่นำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในโครงการวิจัยและรายงานการวิจัยโดยได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ

          งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์ หมายถึง งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ได้นำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในโครงการ โครงการวิจัย และรายงานการวิจัยอย่างถูกต้อง สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการประยุกต์ใช้กับกลุ่มเป้าหมาย โดยมีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจนว่าก่อประโยชน์จริงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และ/หรือได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ หรือการรับรอง/การตรวจงาน โดยหน่วยงานภายนอกสถานศึกษา โดยการใช้ประโยชน์อาจมีได้หลายประเภทดังนี้

หมายเหตุ: ประเภทของการใช้ประโยชน์ ไม่นับรวม การใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการ เช่น การต่อยอดเป็นงานวิจัยอื่น หรือ การได้รับการอ้างอิง (citation)

          หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรับรองการนำงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ไปใช้ประโยชน์ หมายถึง หน่วยงานหรือองค์กร หรือชุมชนภายนอกสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่มีการนำงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาไปใช้ก่อให้เกิดประโยชน์ โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์หรือการรับรอง/การตรวจรับงานโดยหน่วยงานภายนอกสถานศึกษา

          การนับจำนวนผลงานวิจัยหรือผลงานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์ ให้นับจากวันที่นำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์มาใช้และเกิดผลชัดเจน โดยที่ผลงานวิจัยจะดำเนินการในช่วงเวลาใดก็ได้ ช่วงเวลาที่ใช้จะเป็นปีปฏิทินตามระบบที่มหาวิทยาลัยจัดเก็บข้อมูล ในกรณีที่งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์มีการนำไปใช้ประโยชน์มากกว่า 1 ครั้ง ให้นับการใช้ประโยชน์ได้เพียงครั้งเดียว ยกเว้นในกรณีที่มีการใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกันชัดเจนตามมิติของการใช้ประโยชน์ที่ไม่ซ้ำกัน

 

สูตรการคำนวณ

 

เกณฑ์การประเมิน  :

          ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ โดยกำหนดร้อยละ 20 เท่ากับ 5 คะแนน ทุกกลุ่มสาขาวิชา

 

รายการหลักฐานประกอบการประเมิน