D 5.1 : การบูรณาการบริการทางวิชาการแก่สังคมกับพันธกิจอื่น
ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ (P)
ปรับเปลี่ยนจากตัวชี้วัด สมศ. 8 จากหลักการสำคัญของตัวชี้วัดคือ การบริการวิชาการมาพัฒนา ด้านการเรียนการสอน ด้านวิจัยหรือทั้งสองด้าน และสอดคล้องการจัดทำรายงานผลการดำเนินการด้านบริการวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยปรับเพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินงานในระดับภาควิชา
การคิดรอบปี : ปีการศึกษา
คำอธิบาย :
การบริการทางวิชาการแก่สังคมเป็นภารกิจหลักอย่างหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา สถาบันและคณะพึงมีระบบและกลไกในการบริการทางวิชาการแก่สังคมที่เป็นรูปธรรม และมีการจัดโครงสร้างหน่วยงานเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนระบบดังกล่าว โดยภาควิชา ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของคณะ ก็มีภารกิจที่สำคัญที่จะร่วมให้บริการทางวิชาการ ทั้งนี้ การให้บริการวิชาการต้องเชื่อมโยง/บูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม และสนองความต้องการของชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน หน่วยงานวิชาชีพ และสังคมได้อย่างมีคุณภาพตามศักยภาพและความพร้อมตามจุดเน้นของสถาบัน คณะ และภาควิชา
เกณฑ์มาตรฐาน: เชิงคุณภาพ คิดเป็นข้อ |
||||
|
||||
เกณฑ์การประเมิน : |
||||
คะแนน 1 |
คะแนน 2 |
คะแนน 3 |
คะแนน 4 |
คะแนน 5 |
มีการดำเนินการ 1ข้อ |
มีการดำเนินการ 2 ข้อ |
มีการดำเนินการ 3 ข้อ |
มีการดำเนินการ 4 ข้อ |
มีการดำเนินการ 5 ข้อ |