D 9.1   : ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในภาควิชา

 

ชนิดของตัวบ่งชี้    :   กระบวนการ (P)

    ปรับเปลี่ยนตัวชี้วัด สกอ. 9.1 โดยให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานหลักสูตรและมาตรฐานการบริหารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การคิดรอบปี        :   ปีการศึกษา

คำอธิบาย            :   ประเมินทุกภาควิชา

             การประกันคุณภาพการศึกษาภายในเป็นภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่ม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ซึ่งสถาบันต้องสร้างระบบและกลไกในการควบคุม ตรวจสอบ ประเมินและพัฒนาการดำเนินงานของสถาบันให้เป็นไปตามนโยบาย เป้าประสงค์ และระดับคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดโดยสถาบันและหน่วยงานต้นสังกัด ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการวัดผลสำเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน รวมทั้งการรายงานผลการประกันคุณภาพต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน มีการประเมินและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และมีนวัตกรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดี การประกันคุณภาพการศึกษาภายในถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการสร้างจิตสำนึกให้เห็นว่าเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันแก่สาธารณชนให้มั่นใจได้ว่าสถาบันสามารถสร้างผลผลิตทางการศึกษาที่มีคุณภาพ

             

 

เกณฑ์มาตรฐาน:   เชิงคุณภาพ คิดเป็นข้อ

  1. มีการกำหนดนโยบายและให้ความสำคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยหัวหน้าภาควิชา ภายใต้การมีส่วนร่วมของบุคลากรในภาควิชาทุกคน
  2. มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่เหมาะสมกับระดับการพัฒนาของภาควิชา และดำเนินการตามระบบที่กำหนด
  3. มีการนำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการทำงาน และส่งผลให้มีการพัฒนาผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนปฏิบัติการประจำปีของภาควิชาอย่างน้อยใน 2 พันธกิจหลัก ได้แก่ ด้านการเรียนการสอนและการพัฒนานิสิต และด้านงานวิจัย (CU-CQA 14.4 มีการวิเคราะห์ข้อมูลตามดัชนีชี้วัด  เพื่อให้ทราบข้อบกพร่อง  ปัญหา  และนำมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง)(KQI 1.2 จำนวนงานที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ)
  4. ผลประเมินการประกันคุณภาพภายในของภาควิชารับรองโดยต้นสังกัดมีพัฒนาการจากปีการศึกษาที่ผ่านมา
  5. บุคลากรในภาควิชาทุกคนให้การสนับสนุนกิจกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของภาควิชา คณะและหรือมหาวิทยาลัย โดยมีส่วนร่วมในลักษณะต่างๆ ได้แก่ การเข้าร่วมอบรม/ประชุม/ประชาพิจารณ์ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ร่วมเป็นผู้ประเมินและ/หรือผู้ประสานงานในการประเมินระดับภาควิชา/คณะ/มหาวิทยาลัย หรือร่วมเป็นกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาระดับต่างๆ
  6. มีแนวปฏิบัติที่ดีหรืองานวิจัยด้านการประกันคุณภาพการศึกษาที่ภาควิชาพัฒนาขึ้น และเผยแพร่ให้หน่วยงานนอกภาควิชาสามารถนำไปใช้ประโยชน์

 

 

 


เกณฑ์การประเมิน :

คะแนน 1

คะแนน 2

คะแนน 3

คะแนน 4

คะแนน 5

มีการดำเนินการ

1 ข้อ

มีการดำเนินการ

2 ข้อ

มีการดำเนินการ

3 ข้อ

มีการดำเนินการ

4 ข้อ

มีการดำเนินการ

5 หรือ 6 ข้อ