ตัวบ่งชี้ที่ สมศ. 1 : บัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
คำอธิบาย
บัณฑิตปริญญาตรีที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรภาคปกติ ภาคพิเศษ และภาคนอกเวลา ในสาขานั้นๆ ที่ได้งานทำ หรือ มีกิจการของตนเองที่มีรายได้ประจำ ภายในระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่สำเร็จการศึกษา เมื่อเทียบกับบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษานั้น
การนับการมีงานทำ นับกรณีการทำงานสุจริตทุกประเภทที่สามารถสร้างรายได้เข้ามาประจำเพื่อเลี้ยงชีพตนเองได้ โดยการนับจำนวนผู้มีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในภาคพิเศษหรือภาคนอกเวลาให้นับเฉพาะผู้ที่เปลี่ยนงานใหม่หลังสำเร็จการศึกษาเท่านั้น
วิธีการคำนวณ
หมายเหตุ ไม่นับรวมบัณฑิตที่มีงานทำก่อนเข้าศึกษาหรือมีกิจการของตนเองที่มีรายได้ประจำอยู่แล้ว ผู้ที่ศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา ผู้อุปสมบท และผู้ที่เกณฑ์ทหาร (หักออกทั้งตัวตั้งและตัวหาร)
เกณฑ์การให้คะแนน
ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 5 คะแนน
ข้อมูลประกอบการพิจารณา
ข้อมูลจากการสำรวจต้องมีความเป็นตัวแทนของผู้สำเร็จการศึกษาทั้งในเชิงปริมาณ อย่างน้อยร้อยละ 70 และในเชิงคุณลักษณะ ครอบคลุมทุกคณะ กรณีบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจไม่ถึงร้อยละ 70 ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา ให้มีการติดตามซ้ำ โดยผลการสำรวจต้องสามารถระบุข้อมูล ดังต่อไปนี้
1. จำนวนผู้ตอบแบบสำรวจ
2. จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ (ภาคนอกเวลาราชการ)
3. จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาที่ได้งานทำ
4. จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาประกอบอาชีพอิสระ
5. จำนวนบัณฑิตที่มีงานทำก่อนเข้าศึกษา
6. จำนวนบัณฑิตที่ศึกษาต่อ
7. เงินเดือนหรือรายได้ต่อเดือน ของผู้สำเร็จการศึกษาที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระ