ตัวบ่งชี้ที่ สมศ. 5 : งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
คำอธิบาย :
การวิจัยเป็นพันธกิจหนึ่งที่สำคัญของสถาบันอุดมศึกษา การดำเนินการตามพันธกิจอย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จนั้น สามารถพิจารณาได้จากผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพและมีการเผยแพร่อย่างกว้างขวางจากการเปรียบเทียบจำนวนบทความวิจัยที่ตีพิมพ์และจำนวนผลงานสร้างสรรค์ที่เผยแพร่ ในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ กับจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ
งานวิจัยที่เผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ หมายถึง การนำเสนอบทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการและบทความฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ระดับชาติ ที่มีกองบรรณาธิการจัดทำรายงาน หรือคณะกรรมการ จัดประชุม ประกอบด้วยศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ นอกสถาบันเจ้าภาพอย่างน้อยร้อยละ 25
งานวิจัยที่เผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ หมายถึง การนำเสนอบทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการและบทความฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ระดับนานาชาติ ที่มีกองบรรณาธิการจัดทำรายงาน หรือคณะกรรมการจัดประชุมประกอบศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ จากต่างประเทศอย่างน้อยร้อยละ 25
การส่งบทความเพื่อพิจารณาคัดเลือกให้นำเสนอในการประชุมวิชาการต้องส่งเป็นฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) เมื่อได้รับการตอบรับและตีพิมพ์แล้ว การตีพิมพ์ต้องตีพิมพ์เป็นฉบับสมบูรณ์ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบเอกสาร หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้
งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับขาติ หมายถึง บทความจากผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ (Journal) ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล Thai-Journal Citation Index Centre (TCI) หรือวารสารวิชาการระดับชาติตามประกาศของ สมศ.
งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ หมายถึง บทความจากผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ (Journal) ที่ปรากฏในฐานข้อมูลสากล ได้แก่ ฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร SJR (SCImago Journal Rank : www.scimagojr.com) หรือฐานข้อมูล ISI Web of Science (Science Citation Index Expand, Social Sciences Citation Index, Art and Humanities Citation Index) หรือฐานข้อมูล Scopus หรือวารสารวิชาการระดับนานาชาติตามประกาศของ สมศ.
กำหนดระดับคุณภาพบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ ดังนี้
ค่าน้ำหนัก |
ระดับคุณภาพงานวิจัย |
0.25 |
มีการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ/ระดับนานาชาติ หรือมีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI |
0.50 |
มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติที่มีชื่อปรากฏอยู่ในประกาศของ สมศ. |
0.75 |
มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร SJR (SCImago Journal Rank: www.scimagojr.com) โดยวารสารนั้นถูกจัดอยู่ในควอไทล์ที่ 3 หรือ 4 (Q3 หรือ Q4) ในปีล่าสุดใน Subject category ที่ตีพิมพ์ หรือมีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีชื่อปรากฏอยู่ในประกาศของ สมศ. |
1.00 |
มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร SJR (SCI mago Journal Rank : www.scimagojr.com) โดยวารสารนั้นถูกจัดอยู่ในควอไทล์ ที่ 1 หรือ 2 (Q1 หรือ Q2) ในปีล่าสุด ใน Subject category ที่ตีพิมพ์ หรือมีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลสากล ISI และ Scopus |
กำหนดระดับคุณภาพงานสร้างสรรค์ที่เผยแพร่ ดังนี้
ค่าน้ำหนัก |
ระดับคุณภาพงานสร้างสรรค์* |
0.125 |
งานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับสถาบันหรือจังหวัด |
0.25 |
งานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับชาติ |
0.50 |
งานสร้างสรรค์ที่ได้รับเผยแพร่ในระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ |
0.75 |
งานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับภูมิภาคอาเซียน |
1.00 |
งานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับนานาชาติ |
อาเซียน หมายถึง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations)
มี 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย
และเวียดนาม
การเผยแพร่ในระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ เป็นโครงการร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่น
การเผยแพร่ในระดับภูมิภาคอาเซียน เป็นการเผยแพร่เฉพาะในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ (อย่างน้อย 5
ประเทศ หมายถึงนับรวมประเทศไทยด้วย) และการให้คะแนนตามแหล่งเผยแพร่ ไม่จำเป็นต้องไป
แสดงในต่างประเทศ
การเผยแพร่ในระดับนานาชาติ เป็นการเผยแพร่ที่เปิดกว้างสำหรับทุกประเทศ (อย่างน้อย 5 ประเทศที่ไม่ได้
อยู่ในกลุ่มอาเซียน)
วิธีการคำนวณ
เกณฑ์การให้คะแนน
ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ โดยกำหนดร้อยละเท่ากับ 5 คะแนน จำแนกตามกลุ่มสาขาวิชา ดังนี้
กลุ่มสาขาวิชา |
ร้อยละ |
วิทยาศาสตร์สุขภาพ |
20 |
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
20 |
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
10 |
การคิดคะแนนระดับคณะ ให้นำคะแนนที่คิดได้ของแต่ละกลุ่มสาขาวิชามาหาค่าเฉลี่ย และการคิดคะแนนระดับสถาบันให้นำคะแนนที่คิดได้ในแต่ละคณะมาหาค่าเฉลี่ย
ข้อมูลประกอบการพิจารณา
1. จำนวนและรายชื่อบทความวิจัยระดับชาติและนานาชาติทั้งหมดของอาจารย์ ประจำและนักวิจัยประจำ ทั้งที่ปฏิบัติงานจริงและลาศึกษาต่อตามปีการศึกษาหรือปีปฏิทินที่ตรงกับปีการศึกษา พร้อมชื่อเจ้าของบทความปีที่ตีพิมพ์ ชื่อวารสารหรือรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ และค่าน้ำหนังของแต่ละบทความวิจัย
2. จำนวนและรายชื่อผลงานสร้างสรรค์ที่เผยแพร่ในระดับชาติหรือระดับนานาชาติทั้งหมดของอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ ทั้งที่ปฏิบัติงานจริงและลาศึกษาต่อ พร้อมชื่อเจ้าของผลงาน ปีที่เผยแพร่ ชื่อสถานที่ จังหวัด หรือประเทศที่เผยแพร่ และระบุรูปแบบของการเผยแพร่พร้อมหลักฐาน และค่าน้ำหนักของแต่ละผลงานสร้างสรรค์
3. หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของโครงการวิจัย