ตัวบ่งชี้ที่ สมศ. 7 : ผลงานวิชาการที่ได้รับการรับรองคุณภาพ
คำอธิบาย :
ผลงานวิชาการที่มีคุณภาพ สะท้อนถึงสมรรถนะในการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจัย การปฏิบัติจริงและได้นำไปใช้ในการแก้ปัญหา หรือพัฒนางานในหน้าที่จนเกิดผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา และเป็นประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ
ผลงานวิชาการที่ได้รับรองคุณภาพ หมายถึง บทความวิชาการ ตำรา หรือหนังสือ ที่ผ่านกระบวนการกลั่นกรองและได้รับการรับรองคุณภาพแล้ว ตามเกณฑ์ของ กพอ. เรื่องหลักเกณฑ์การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการหรือเทียบเท่า
ผลงานทางวิชาการที่เป็นบทความวิชาการ (Academic Paper) ตำรา (Textbook) หรือหนังสือ (Book) ต้องเป็นผลงาน ที่ผ่านกระบวนการกลั่นกรองผลงานก่อนตีพิมพ์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- บทความวิชาการ หมายถึง เอกสารทางวิชาการที่เรียบเรียงอย่างเป็นระบบ มีข้อความรู้ที่สะท้อนมุมมอง แนวคิดเชิงทฤษฎีที่ได้จากประสบการณ์ การสังเคราะห์เอกสาร หรือการวิจัย โดยจัดทำในรูปของบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ ในวารสารวิชาการที่มีคุณภาพซึ่งมีผู้ตรวจอ่าน
- ตำรา หมายถึง เอกสารทางวิชาการที่เรียบเรียงอย่างเป็นระบบ อาจเขียนเพื่อตอบสนองเนื้อหาทั้งหมดของรายวิชาหรือเป็นส่วนหนึ่งของวิชาหรือหลักสูตรก็ได้ โดย มีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง และสะท้อนให้เห็นความสามารถในการถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษา
- หนังสือ หมายถึง เอกสารทางวิชาการที่เขียนขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ ไปสู่วงวิชาการหรือผู้อ่านทั่วไป โดยไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของหลักสูตรหรือต้องนำมาประกอบการเรียนการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่ง ทั้งนี้ จะต้องเป็นเอกสารที่เรียบเรียงขึ้นอย่างมีเอกภาพ มีรากฐานทางวิชาการที่มั่นคงและให้ทัศนะของผู้เขียนที่สร้างเสริมปัญญาความคิด และสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการให้แก่สาขาวิชานั้นๆ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
การนับจำนวนผลงานทางวิชาการที่ได้รับการรับรองคุณภาพ จะนับผลงานวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบของบทำความวิชาการในวารสารวิชาการทั้งในระดับชาติและ/หรือนานาชาติ หนังสือหรือตำราทางวิชาการ ซึ่งมีระบบการพิจารณาต้นฉบับจากคระกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิก่อนการตีพิมพ์ และผลงานจะต้องเกินร้อยละ 50 ของชิ้นงาน ในกรณีที่มีการตีพิมพ์มากกว่า 1 ให้นับการตีพิมพ์เพียงครั้งเดียวต่องานวิชาการ 1 ชิ้น
เกณฑ์การประเมิน
กำหนดระดับคุณภาพผลงานวิชาการ ดังนี้
ค่าน้ำหนัก |
ระดับคุณภาพผลงานวิชาการ |
0.25 |
บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ |
0.50 |
บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ |
0.75 |
ตำราหรือหนังสือที่มีการประเมินผ่านตามเกณฑ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่สถานศึกษากำหนด |
1.00 |
ตำราหรือหนังสือที่ใช้ในการขอผลงานทางวิชาการและผ่านการพิจารณาตามเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว หรือตำราหรือหนังสือที่มีคุณภาพสูงมีผู้ทรงคุณวุฒิตรวจอ่านตามเกณฑ์ขอตำแหน่งทางวิชาการ |
วิธีการคำนวณ
เกณฑ์การให้คะแนน :
ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ โดยกำหนดร้อยละ 10 เท่ากับ 5 คะแนน ทุกกลุ่มสาขาวิชา
ข้อมูลประกอบการพิจารณา :
1. จำนวนและรายชื่อผลงานวิชาการ (บทความวิชาการ ตำรา หนังสือระดับอุดมศึกษา) ที่มีระดับคุณภาพของอาจารย์ประจำ โดยนับรวมผลงานของอาจารย์ทั้งที่ปฏิบัติงานจริงและลาศึกษาต่อ พร้อมชื่อเจ้าของผลงานปีที่ผลงานแล้วเสร็จ ปีที่ได้รับการรับรองคุณภาพจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ ชื่อหน่วยงานที่รับรอง และมีหลักฐานการรับรองคุณภาพจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ค่าน้ำหนักของผลงานวิชาการแต่ละชิ้น
2. จำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำทั้งหมดในแต่ละปีการศึกษา โดยนับรวมอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ