ตัวบ่งชี้ที่ สมศ. 8 : ผลการนำความรู้และประสบการณ์จากการให้บริการวิชาการมาใช้ในการพัฒนาการ
เรียนการสอนและการวิจัย
คำอธิบาย
การให้บริการวิชาการ หมายถึง การที่สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาซึ่งอยู่ในฐานะที่เป็นที่พึ่งของชุมชนหรือสังคม เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ หรือทำหน้าที่ใดๆ ที่มีผลต่อการพัฒนาชุมชนในด้านวิชาการหรือการพัฒนาความรู้ ตลอดจนความเข้มแข็งประเทศชาติและนานาชาติ การบริการวิชาการเป็นการบริการที่มีค่าตอบแทน และบริการวิชาการให้เปล่า โดยมีการนำความรู้และประสบการณ์มาใช้พัฒนาหรือบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนและการวิจัย อาทิ บทความ ตำรา หนังสือ รายวิชาหรือหลักสูตร เป็นต้น
การนำความรู้และประสบการณ์จากการให้บริการวิชาการมาพัฒนามี 2 ประเภท คือ
1. การพัฒนาการเรียนการสอน
2. การพัฒนาการวิจัย
ในการประเมินตัวบ่งชี้นี้ต้องมีโครงการทั้งสองประเภท ทั้งนี้ในแต่ละโครงการไม่จำเป็นต้องมีทั้งสองประเภท และผลการใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการวิจัยต้องเสร็จสิ้นในปีที่ประเมิน
เกณฑ์การให้คะแนน
ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ โดยกำหนดร้อยละ 30 เท่ากับ 5 คะแนน
ข้อมูลประกอบการพิจารณา :
ประสบการณ์จากการให้บริการวิชาการมาใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน และการวิจัยโดยอาจไปต่อยอดพัฒนาเป็นหนังสือ ตำรา หรืองานวิจัย ขยายผลนำไปสู่การปรับปรุงรายวิชาหรือนำไปสู่การเปิดรายวิชาใหม่
หมายเหตุ : สำหรับสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาได้รับการประเมินปี 2555 เป็นต้นไป สามารถใช้โครงการ/กิจกรรมใหม่
ที่ปรากฏอยู่ในแผนระยะยาวโดยได้รับการอนุมัติจากสภาสถาบันว่า เป็นโครงการ/กิจกรรมที่ต่อเนื่องใน
อนาคตและจะยั่งยืน เข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดย สมศ. จะพิจารณาให้คะแนนล่วงหน้า